เถาเอ็นอ่อน
เถาเอ็นอ่อน คือพืชที่เป็นเครือเลื้อยตามต้นไม้ แต่ไม่ใช่แบบเครือเถาวัลย์เล็กๆ เป็นเครือเถาวัลย์ขนาดใหญ่
เลื้อยพาดกับต้นไม้อื่น มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ เครือเถาเอ็น เครือเขาเอ็น
ภาคอิสานเรียก เครือเขาควาย เสน่งกู ภาคใต้เรียก หญ้าลิเลน ภาคกลางเรียก เมื่อย เป็นต้น
ราก เถา และ ใบ มีรสขมเบื่อเอียน เป็นยาเย็น มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาฟอกเลือด
ส่วน เมล็ดมีรสขมเมา เป็นยาขับลมในลำไส้และในกระเพาะอาหาร ทำให้ผายและเรอ ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
ส่วนที่นิยมนำมาปรุ่งเป็นยาสมุนไพรจะใช้ลำต้นหรือเครือ หั่นเป็นท่อนๆ ใช้ต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยาบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้อาการปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้อาการปวดบวม ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง แก้ขัดยอก
เถาเอ็นอ่อน อยู่ในตำรับยาสมุนไพรไทย ได้บรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558
ให้เป็นส่วนประกอบหลักใน ตำรับยาผสมโคคลาน ซึ่งเป็นยารักษากลุ่มอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
รายละเอียดที่ระบุใน บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558
(4) ยาผสมโคคลาน ยาชง (รพ.) ยาต้ม (รพ.)
สูตรตํารับที่ 3
รูปแบบ ยาต้ม
สูตรตํารับ ในยา 100 กรัม ประกอบด้วย เถาโคคลาน เถาเอ็นอ่อน แก่นฝาง เถาสะค้าน หนักสิ่งละ
20 กรัม โด่ไม่รู้ล้ม ทองพันชั่ง (ทั้งต้น) หนักสิ่งละ 10 กรัม
ข้อบ่งใช้ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ขนาดและวิธีใช้ ชนิดชง
รับประทานครั้งละ 1 กรัม ชงน้ําร้อนประมาณ 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ขนาดและวิธีใช้ ชนิดต้ม
นําตัวยาทั้งหมดมาเติมให้น้ําท่วมตัวยา ต้มน้ำเคี่ยว สามส่วนเหลือหนึ่งส่วน ดื่มครั้งละ 120 - 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
สมุนไพรเถาเอ็นอ่อน ได้ถูกนำไปประกอบผสมในสมุนมากมายหลายตำรับ เพื่อใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น
แบบยาน้ำบรรจุขวด แบบแคปซูล แบบพงชงดื่ม แบบยาหม่องครีมนวด แบบน้ำมันนวด รวมทั้งแบบยาชุม ยาชุดสำหรับนำไปต้มแบบโบราณ
เถาเอ็นอ่อน ตำรับที่นำมาปรุงเป็นยาแผนโบราณแล้วโด่งดังมากคือ เถาเอ็นอ่อน หมอทองอินทร์
เถาเอ็นอ่อน โรจนภัทร์ เถาเอ็นอ่อน RPG เถาเอ็นอ่อน พีเอสไทย ซึ่งปัจจุบัน
ก็คือเถาเอ็นอ่อนหมอทองอินทร์นั้นเอง ที่ขายคู่กันกับยาสตรีพิ้งค์นภามาอย่างยาวนาน
ลักษณะเถาเอ็นอ่อน เป็นอย่างไร ค้นหาใน Google ก็จะเจอแบบนี้ครับ

เถาเอ็นอ่อน ข้อมูลจาก กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข
1. ชื่อสมุนไพร เถาเอ็นอ่อน (THAO EN ON)
2. ชื่อวิทยาศาสตร์ Cryptolepis dubia (Burm.f.) M.R.Almeida ชื่อวงศ์ Asclepiadaceae
3. ชื่ออื่น เครือเขาเอ็น ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ), เมื่อย (ภาคกลาง), นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),
พรมทัต (จันทบุรี), หญ้าลิเลน (ปัตตานี), หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)
4. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
* ไม้เถา มียางขาวข้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาล
* ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 6-18 เซนติเมตร ปลายแหลมมีติ่งเรียว
แหลม โคนแหลมหรือมน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมันเกลี้ยง ด้านล่างสีจางกว่า ก้านใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร
* ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อย่อยแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ช่อยาว 2-4 เซนติเมตร ก้าน ใบประดับและใบ
ประดับย่อย ดอก สีขาวอมสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อม
ติดกันเป็นหลอดเรียว ปลายแยก 5 แฉก รูปใบหอก ปลายแหลม ขอบกลีบซ้อนเหลื่อมแบบเวียนซ้ายในดอกตูม เกสรเพศผู้ 5 อัน
รังไข่เหนือวงกลีบมี 2 อัน แยกอิสระ แต่ละอันมี 1 ช่อง มีออวุลจำนวนมาก ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มเล็กมาก
* ผล แบบผลแห้งแตกแนวเดียว เป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอกปลายเรียวแหลม กว้าง 0.8-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร
* เมล็ด แบน รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายด้านหนึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่
5. ส่วนที่ใช้ทำยา เถา
6. สรรพคุณของแต่ละส่วนที่ใช้ทำยา
ตำราสรรพคุณยาไทยว่า เถาเอ็นอ่อน มีรสขมเบื่อมัน บำรุงเส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้ขัดยอกคลายเส้น
7. รายงานการวิจัยปัจจุบัน
ข้อมูลการศึกษาฟรีคลินิกพบว่า สารสกัดเถาเอ็นอ่อนด้วยเอทานอลร้อยละ 50 มีฤทธิ์ต้านอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังในหนูแรต
8. สารสำคัญ
เถาเอ็นอ่อนมีองค์ประกอบเป็นสารกลุ่มแอลคาลอยด์ (alkaloids) เช่น บิวแคนานีน (buchananine)
นิโคทิโนอิลกลูโคไซด์ แอลคาลอยด์ (nicotinoylglucoside alkaloid) 1,3,6-โอ-ไทรนิโคทิโนอิล-แอลฟา-ดี-กลูโคไพราโนส
(1,3,6-O-trinicotinoyl-a-D-glucopyranose) และคริปโทลีพีน (cryptolepine) และมีสารกลุ่มเพรกเนนสเตียรอยด์
(pregnane steroids) เช่น 2 แอลฟา,21-ไดไฮดรอกซีเพรก-4-นีน-3,20-ไดโอน (2a,21-dihydroxypregn-4-ene-3,20-dione)
เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบคูมาริน (coumarin) สโคโพลีทิน (scopoletin) แดนทรอน (danthron) บีตา-ซิโทสเตอรอล
(B-sitosterol) และสติกมาสเตอรอล (stigmasterol)
9. แหล่งกำเนิด และกระจายพันธุ์
พืชชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทุกภาคตามป่าละเมาะ ที่โล่ง ชายป่า ในต่างประเทศพบที่จีน อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน
10. พื้นที่เหมาะสมในการปลูกในประเทศไทย
- ลักษณะพื้นที่ พื้นที่ป่าทั่วไป
- ภาค ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
- จังหวัด สระบุรีอุดรธานี หนองคาย เพชรบุรี ราชบุรี ปัตตานีแม่ฮ่องสอน
11. การคัดเลือกพันธุ์ (พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย)
- พันธุ์ที่ใช้เป็นยา พันธุ์พื้นบ้านทั่วไป
- พันธุ์ที่ใช้เป็นอาหาร ไม่ใช้ทำเป็นอาหาร
12. การขยายพันธุ์
นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เถาเอ็นอ่อนมีฝักเป็นคู่ เมื่อแก่ฝักจะแตกเป็นปุยด้วยนุ่น ปลิวไปตามลม
การขยายพันธุ์ นำเมล็ดที่เป็นปุยนุ่นไปเพาะในกระบะประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ เถาเอ็นอ่อนจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อนสูง
10 – 15 เซนติเมตร แยกลงใส่ถุงเพาะชำโดยผสมดินกับปุ๋ยคอกและมะพร้าวสับ
13. การปลูก/สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
- ฤดูกาลเพาะปลูก เถาเอ็นอ่อนนิยมปลูกในฤดูฝน เพราะจะเจริญเติมโตได้ดี ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
- การเตรียมดิน เถาเอ็นอ่อนนิยมปลูกตามโคนต้นไม้ใหญ่ หรือตามตอไม้ผุพัง ตามสวนป่า เราจะขุดหลุม
กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักก็ได้ผสมคลุกเคล้ากันพร้อมปลูก
- วิธีการปลูก เมื่อได้ต้นกล้าเถาเอ็นอ่อนในถุงเพาะชำ อายุ 6 – 12 เดือน จะเริ่มเป็นเถายาวแข็งแรงนำลงปลูกได้
ในหลมที่เตรียมไว้กลบดินพูนโคนแล้วปักไม้พยุงต้น เพื่อจะให้เถาเอ็นอ่อนเลื้อยพาดพันต้นไม้ต่อไป
14. การปฏิบัติดูแลรักษา
- การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยเมื่อรองก้นหลุมแล้ว และให้เมื่อปลูกได้ 6 เดือนอีกครั้ง พร้อมการพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
- การให้น้ำ เถาเอ็นอ่อนเป็นพืชทนแล้งได้ดีควรให้น้ำระยะแรก เมื่อเข้าฤดูฝนปล่อยตามธรรมชาติ
- การกำจัดวัชพืช เถาเอ็นอ่อนควรกำจัดวัชพืชทำปีละ 2 ครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ย และพรวนดิน
- การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูเถาเอ็นอ่อนไม่ค่อยมีแมลงศัตรูพืชรบกวน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ สารกำจัดโรคและแมลงศัตรู
15. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
- ฤดูกาลการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวได้ทุกฤดูนิยมเก็บเกี่ยวในฤดูแล้งช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน
- วิธีการเก็บเกี่ย เถาเอ็นอ่อนจะเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุ 3-5 ปีขึ้นไป โดยตัดเถาขึ้นจากเหนือดิน 1 เมตร เพื่อเอาต้นตอไว้ให้เกิดต้นใหม่อีก
- การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อได้เถาเอ็นอ่อนมาสด ๆ ต้องรีบสับเป็นแว่นเล็ก ๆ ทันทีถ้าปล่อยไว้แห้งจะสับยาก
เพราะจะเหนี่ยวและแข็ง นำไปตากแดด 4 – 5 วัน จนแห้ง และนำไปอบต่อจนแห้งสนิท
- การบรรจุและการเก็บรักษา เมื่อได้เถาเอ็นอ่อนแห้งแล้ว ให้ใส่ถุงมัดปากให้แน่น หรือใส่กระสอบโปร่ง ๆ ไว้ในห้องมีอุณหภูมิปกติ พร้อมส่งจำหน่ายต่อไป
16. การจำหน่าย
เถาเอ็นอ่อนสด ราคากิโลกรัมละ 10-50 บาท
เถาเอ็นอ่อนแห้ง ราคากิโลกรัมละ 60-100 บาท
ข้อมูลด้านบนมาจาก กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข

เถาเอ็นอ่อน หมอทองอินทร์ เว็บนี้มีข้อมูลครบสมบูรณ์ที่สุดแล้วครับ เถาเอ็นอ่อน แจ้งสั่งซื้อที่นี่ได้เลยนะครับ เถาเอ็นอ่อนจะสั่งซื้อที่ไหน ก็ต้องแจ้งส่งจากที่นี่ เพราะเราคือศูนย์จัดส่งออนไลน์ทั่วประเทศ เถาเอ็นอ่อน ของแท้ ปรับราคาล่าสุดปี 2564 ราคาสมาชิกออกจากบริษัทคือราคาสมาชิกขวดละ 800 บาท ราคาขายปลีกขวดละ 1500 บาท แต่ช่วงนี้ทางร้านยังมีการจัดโปรโมชั่นในราคาพิเศษ ท่านที่ต้องการสั่งซื้อในราคาโปรโมชั่นพิเศษ ต้องสั่งซื้อผ่านทางไลน์บ้านพลูคาวเท่านั้นโดยการแอดไอดีไลน์ @yathailand แล้วทำการติดต่อสั่งซื้อในไลน์ร้านค้าได้เลย สั่งซื้อให้เร็วเดียวหมดโปร สินค้าชุดใหม่มาราคาอาจปรับขึ้นตามที่บริษัทกำหนด ร้านนี้จัดจำหน่าย โดย.. คุณแซม สุขศรี เถาเอ็นอ่อน พิ้งค์นภา สั่งซื้อออนไลน์ ต้องสั่งซื้อกับคุณแซม สุขศรี เท่านั้นครับ จำหน่ายมาตั้งแต่สมัย โรจนภัทร ไม่เคยเปลี่ยนแปลง การันตีคุณภาพ ได้สินค้าใหม่ของแท้ 100% แน่นอน เถาเอ็นอ่อน สั่งซื้อสินค้าด่วน ติดต่อ คุณแซม สุขศรี โทร.065-547-3978
เถาเอ็นอ่อน ตราหมอทองอินทร์
ยาน้ำสมุนไพร เถาเอ็นอ่อน ตราหมอทองอินทร์
เลขทะเบียนยาที่ G784/48
เป็นยาสามัญประจำบ้าน สรรพคุณ ตามข้างกล่อง คลายเส้นเอ็น บรรเทาอาการปวดเมื่อย และบำรุงร่างกาย
ยาน้ำสมุนไพร เถาเอ็นอ่อน ผลิตจากสมุนไพร มากกว่า 20 ชนิด
สรรพคุณ เป็นยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายเอ็น และบำรุงร่างกาย
รับประทานได้ ทั้งชาย หญิง เด็ก และคนสูงอายุ คำว่า " บำรุงร่างกาย "
- ช่วยบำรุงร่างกายเปรียบเสมือนเป็น ยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคแก่ร่างกาย
- ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อึดอัด หายใจไม่เต็มอิ่ม
- ผู้ที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยให้ดีขึ้นได้
- ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไขข้ออักเสบ
- ช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อย เหน็บชา หน้าซีดเชียว
- แขนขาไม่มีแรง ง่วงนอนเป็นประจำ เป็นหวัด เป็นไอบ่อยๆ
- ช่วยอาการมึนหัว หน้ามืด ใจสั่น มือเท้าเย็นชา
- ล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย ช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด
- เบาหวาน ความดัน ความเครียด แก้กษัย โลหิตเป็นพิษ ไตพิการ
- ช่วยให้สมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น
- ช่วยระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรง
ส่วนประกอบหลักของ ยาน้ำสมุนไพรเถาเอ็นอ่อน (15,000 ซีซี.)
๏ เถาเอ็นอ่อน 1,000 กรัม ๏ รากเจตมูลเพลิง 500 กรัม
๏ เถาวัลย์เปรียง 500 กรัม ๏ เหง้าขิงแห้ง 500 กรัม
๏ เถาโคคลาน 500 กรัม ๏ กำแพงเจ็ดชั้น 500 กรัม
๏ เถาสะค้าน 500 กรัม ๏ โด่ไม่รู้ล้ม 500 กรัม
๏ เถารางแดง 500 กรัม ๏ ม้ากระทืบโรง 500 กรัม
๏ เถาวัลย์ปูน 500 กรัม ๏ กำลังช้างสาร 500 กรัม
๏ กำลังเสือโคร่ง 500 กรัม ๏ ต้นตอไส้ 500 กรัม
๏ กำลังหนุมาน 500 กรัม ๏ แส้ม้าทลาย 500 กรัม
๏ กำลังวัวเถลิง 500 กรัม ๏ โกฐสอ 250 กรัม
๏ แก่นเสมทะเล 500 กรัม ๏ โกฐหัวบัว 250 กรัม
๏ แก่นขี้เหล็ก 500 กรัม ๏ โกฐจุฬาลัมพา 250 กรัม
๏ แก่นแสมสาร 500 กรัม ๏ โกฐเชียง 250 กรัม
๏ ดอกดีปลี 500 กรัม ๏ โกฐเขมา 250 กรัม
๏ รากช้าพลู 500 กรัม ๏ และ สมุนไพร ตัวยาอื่นๆ
ยาน้ำสมุนไพร เถาเอ็นอ่อน ตราหมอทองอินทร์
เอกสารกำกับยา
เป็นยาสามัญประจำบ้าน
ทะเบียนยาเลขที่ G 784/48
ปริมาตรสุทธิ 750 ซีซี
ราคาขายปลีก 1500 บาท
ผลิตโดย ร้านทองอินทร์เภสัช 1348/23 ถนนถวิลราษร์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000
จัดจำหน่ายโดย : บริษัท หมอทองอินทร์ (ไทยแลนด์) จำกัด 627/10 หมู่ 18 ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
จำหน่ายออนไลน์โดย คุณแซม สุขศรี
โทร.0655473978
ขนาดรับประทานและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 15-20 ซีซี (มีแก้วตวงให้)
วันละ 2 เวลา เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
มีน้ำร้อนควรดื่มน้ำร้อนตามจะช่วยให้ได้ผลเร็วขึ้น
(เขย่าขวดก่อนรับประทานทุกครั้ง)
คำเตือน: สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
เก็บไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด
สิ้นอายุ 2 ปี นับจากวันที่ผลิต
ทดสอบสารสเตียรอยด์ ในยาน้ำเถาเอ็นอ่อน
ส่วนประกอบหลัก เถาเอ็นอ่อน ตราหมอทองอินทร์
คุณสมบัติของสมุนไพร ที่ได้บันทึกไว้ในตำราแพทย์แผนไทย
ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง
สรรพคุณ : บำรุงกองธาตุทั้งสี่ ขับลมในลำไส้และกระเพราะอาหารให้เรอ ขับลมแก้จุกเสียด แก้อาการเคลื่อนเหียนอาเจียน
แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการไอขับเสมหะ กระจายโลหิต ช่วยให้โลหิตไหลเวียนดี
แก้ริดสีดวงทวาร บำรุงโลหิต แก้เสียดและแน่นหน้าอก
โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง (โสมตังกุย)
สรรพคุณ : แก้ไข้ แก้ไอ แก้หืดหอบ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้ไข้ที่มีผื่นขึ้นตามตัว เช่น หัดเหือด สุกใส ดำแดง ฝีดาษ ไข้รากสาด แก้โรคปอด แก้โรคในปาก บำรุงโลหิต ชูกำลัง แก้ลมในกองธาตุ แก้อาหารไม่ย่อย
ขับปัสสาวะ และอุจจาระให้เดินสะดวก แก้เจ็บตา แก้ริดสีดวก แก้ท้องเสีย ขับลมในลำไส้
แก่นแสมทะเล สรรพคุณ : ขับลมในกระดูก ขับโลหิตประจำเดือนสตรี ขับถ่ายโลหิตระดูสตรีให้ปกติ แก้กระษัย
แก่นขี้เหล็ก สรรพคุณ : แก้กระษัย แก้ไตพิการ ปวดบั้นเอว ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต ขับระดูเสีย แก้ไฟธาตุพิการ เหน็บชา กามโรค
เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณ : ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด เส้นตึง แก้ปวดเมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ขับปัสสาวะ ถ่ายเสมหะลงสู่คูทวาร
กำลังเสือโคร่ง สรรพคุณ : บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
กำลังหนุมาน สรรพคุณ : แก้น้ำดีพิการ นอนสะดุ้งผวา หลับๆ ตื่นๆ ร้อนหน้าน้ำตาไหล
กำลังวัวเถลิง สรรพคุณ : บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงเส้นเอ็น บำรุงร่างกาย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
เถาโคคลาน สรรพคุณ : แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ครั่นเนื้อครั่นตัว เส้นตึง แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้กระษัยแก้ไตพิการ ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต
เถาเอ็นอ่อน (เถาเอ็น หรือ เถาเมื่อย)
สรรพคุณ : แก้ปวดเมื่อย เสียวตามร่างกาย เมื่อยขบ แก้เส้นตึง บำรุงเส้นเอ็น ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด
กำลังช้างสาร สรรพคุณ : บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้อ่อนเพลีย
ม้ากระทืบโรง สรรพคุณ : บำรุงธาตุ บำรุงโรหิต บำรุงกำหนัด
กำแพงเจ็ดชั้น สรรพคุณ : ขับโลหิต บำรุงโลหิต ขับผายลม แก้ไข้ แก้ปวดตามข้อ แก้เม็ดผดผื่นคัน
โด่ไม่รู้ล้ม สรรพคุณ : แก้ไข้ กระษัย แก้ปัสสาวะพิการ บำรุงกำหนัด
ประวัติการจำหน่าย เถาเอ็นอ่อน - พิ้งค์นภา

เถาเอ็นอ่อน และ พิ้งค์นภา ในช่วงปี 2552
อันนี้คือ เถาเอ็นอ่อน และ พิ้งค์นภา หมอทองอินทร์ ที่โด่งดังมาก ในช่วงปี 2552 มีผู้ป่วยหลายราย
ที่ป่วยเป็น โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต นอนอยู่กับที่ กินยานี้แล้วหายเป็นปกติ ทำให้ยานี้เป็นที่รู้จัก
ของชาวบ้านขึ้นมาทันที โด่งดังมากในอดีต
ราคา 280 บาท ไม่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

เถาเอ็นอ่อน และ พิ้งค์นภา ในช่วงปี 2554
ในปี 2554 เถาเอ็นอ่อน หมอทองอินทร์ จัดจำหน่ายโดย บริษัท อาร์พีจี เน็ตเวิร์ค จำกัด
กระแส เถาเอ็นอ่อน และพิ้งค์นภา มาแรงมาก ทำให้นักขายหลายร้อยคน
ได้จับเงินล้านกันแบบสบาย สบาย เป็นปีทองของเถาเอ็นอ่อน ผู้ผลิตยาสมุนไพร
เจ้าอื่นๆ เริ่มมีผลิตภัณฑ์เถาเอ็นอ่อนเรียนแบบออกมาจำหน่ายมากมาย
ราคา 370 บาท ไม่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

เถาเอ็นอ่อน และ พิ้งค์นภา ในช่วงปี 2555-2557
ในปี 2555-2557 เถาเอ็นอ่อน และพิ้งค์นภา หมอทองอินทร์
ได้ปรับปรุงฉลากด้านใน เพื่อให้ดูเด่นขึ้น เป็นยุคที่ผู้ใช้เถาเอ็นอ่อน และพิ้งค์นภา ยอมรับในสรรพคุณ
ของสมุนไพรไทยอย่างมั่นใจมากขึ้น เพราะมีผู้ป่วย เรื้อรังหลายๆ โรค กินยานี้แล้วหายขาด
ราคา 390 บาท ไม่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

เถาเอ็นอ่อน และ พิ้งค์นภา ในช่วงปี 2558-2559
ในปี 2558-2559 เถาเอ็นอ่อน และพิ้งค์นภา หมอทองอินทร์
จัดจำหน่ายโดย บริษัท พีเอสไทยซัคเซส จำกัด ทำให้ตลาดเถาเอ็นอ่อนมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
มีหลายๆ บริษัท ผลิตยาเถาเอ็นอ่อน เรียนแบบขึ้นมามากมาย ทั้งแบบน้ำ แบบแคปซูล
เพราะ ผู้คนนิยมยาเถาเอ็นอ่อนกันมากขึ้น มีการโฆษณา ทางวิทยุ อินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย
ทำให้ตลาดเถาเอ็นอ่อน หน้าใหม่เกิดขึ้นมาหลายยี้ห้อ มีการแข่งขันทางการตลาด กันอย่างหนักหน่วง
ราคา 480 บาท ไม่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

เถาเอ็นอ่อน และ พิ้งค์นภา ในช่วงปี 2560-ปัจจุบัน
ในปี 2560 - ปัจจุบัน เถาเอ็นอ่อน และยาสตรีพิ้งค์นภา หมอทองอินทร์
ได้ปรับปรุงครั้งใหญ่ ทั้งคุณภาพ และกล่องบรรจุภัณฑ์ ให้ทันกับยุคสมัย เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าเรา
มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เราให้ความสนใจ กับผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง และเราสัญญาว่า จะยังคงปรับปรุงคุณภาพ
ต่อไปแบบไม่มีสิ้นสุด
ปัจจุบันจำหน่าย ราคาสมาชิก 590 บาท ราคาขายปลีก 1500 บาท
